ภาพปัจจุบัน

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

WebOPAC เว็บโอแพค

WebOPAC เว็บโอแพค

 WebOPAC ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการ โดยสืบค้นผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
   เริ่มต้นการสืบค้น  เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักวิทยบริการที่ http://www.library.msu.ac.th  หัวข้อสืบค้นสารสนเทศคลิก WebOPAC หรือพิมพ์คำค้นในช่องว่างซึ่งอยู่ด้านบนของเว็บไซต์ เลือกขอบเขต กดปุ่มสืบค้น ดังรูป

1.  การสืบค้นหนังสือ
     เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์ งานวิจัย นวนิยาย และ เรื่องสั้น ที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการนั้น จะเิริ่มต้นอย่างไรดี  การค้นหาหนังสือให้ได้ดังใจและรวดเร็วมีขั้นตอนนี้ดังนี้
    1) สืบค้นจาก WebOPAC โดยเลือกใช้ขอบเขตหรือทางเลือกในการสืบค้นซึ่งมี  6  ทางเลือกได้แก่
       - ผู้แต่ง  หมายถึง ผู้แต่ง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปลชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการประชุมสัมมนา สำหรับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ชื่อต้น และชื่อกลาง
       - ชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ
       - หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ เอกสาร หรือบทความ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด
        - คำสำคัญ หมายถึง คำ หรือ วลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่ทราบทั้งชื่อเรื่อง ผู้แต่ง และหัวเรื่อง
         - เลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด
              - ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อผู้แต่ง หรือหากทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ จะทำให้สามารถจำกัดผลการสืบค้นได้
      2) พิมพ์คำที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศในช่องว่าง คลิกทางเลือกการสืบค้น ได้แก่ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ หรือ ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง  จากรูปตัวอย่างเป็นวิธีการสืบค้นหนังสือโดยเลือกใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง  คลิกที่ปุ่มสืบค้น
              * ถ้าเริ่มต้นสืบค้นโดยที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง ให้เลือกสืบค้นจากขอบเขต "คำสำคัญ"
          3) หน้าจอแสดงผลการสืบค้น โดยแสดง ชื่อเรื่อง สถานที่จัดเก็บ เลขเรียก และสถานภาพ  ให้ตรวจสอบดูสถานที่จัดเก็บหนังสือที่ต้องการนั้นว่าจัดเก็บอยู่ที่ใด มีสถานภาพอยู่บนชั้น ถูกยืมออกไปแล้ว หรือห้ามยืมออก  ผู้ใช้สามารถดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ จากนั้นให้จดเลขเรียกแล้วหยิบหนังสือบนชั้น แล้วนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ

2.  การสืบค้นบทความ

           จะมีวิธีการสืบค้นเริ่มแรกไม่แตกต่างจากการสืบค้นหนังสือ แต่ผู้สืบค้นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่าบทความเรื่องที่ต้องการนั้นอยู่ในวารสารชื่อเรื่องอะไร และจัดเก็บอยู่ที่ใด ซึ่งวารสารจะมีอยู่ 3 สถานภาพ คือ
          - วารสารฉบับปัจจุบัน  หมายถึง  วารสารฉบับล่าสุด ให้บริการที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ชั้น 3 
          - วารสารล่วงเวลา  หมายถึง  วารสารที่นำลงมาจากชั้นวารสารใหม่สีส้ม และถูกนำมาจัดเก็บไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และเพื่อรอเย็บเล่ม ผู้ใช้บริการสามารถกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการกับบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และนำวารสารไปถ่ายสำเนาได้ที่ศูนย์ถ่ายเอกสาร สำนักวิทยบริการ ชั้น 3
          - วารสารเย็บเล่ม  หมายถึง  วารสารที่ถูกนำมาเย็บเล่มแล้วจัดไว้ให้บริการที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน ผู้ใช้บริการสามารถหยิบตัวเล่มด้วยตนเองและนำไปถ่ายสำเนาเอกสารได้
          ขั้นตอนการสืบค้นมีดังนี้
          1) สืบค้นจาก Web OPAC โดยใช้ชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง หรือคำสำคัญ เพื่อตรวจสอบว่ามีบทความที่ต้องการหรือไม่ จากรูปตัวอย่างเป็นการสืบค้นหาบทความโดยใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อเรื่อง เมื่อได้ผลลัพธ์การสืบค้นให้เลื่อกรายการที่ต้องการแล้วคลิกเข้าไปดูแหล่งข้อมูลหรือชื่อวารสารของบทความเรื่องนั้น  ในกรณีที่มีผลลัพธ์เยอะและต้องการคัดเลือกเอาเฉพาะบทความ ให้คลิกที่ปุ่มเมนู Limit/Sort Search
          * Limit/Sort Search หรือการจำกัดผลลัพธ์ ใช้เพื่อคัดกรองทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ทุกประเภท
          2) จากนั้นให้เลือกประเภทวัสดุ เป็น "ดรรชนีวารสาร" เพื่อกรองผลลัพธ์ให้ได้เฉพาะบทความวารสารเท่านั้น แล้วคลิกปุ่ม Submit เพื่อยืนยัน
          3)  ให้เลือกบทความเรื่องที่สนใจ จากนั้นคลิกที่ "ดูรายละเอียดวารสาร" หน้าจอจะแสดงเลขเรียก สถานที่จัดเก็บ และวารสารฉบับที่มีให้บริการ ให้ผู้ใช้บริการคลิกที่ "Latest Received" เพื่อตรวจสอบว่าวารสารที่ต้องการนั้นถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด
          4) ให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบว่าบทความที่ต้องการอยู่ในวารสารฉบับที่เท่าใด ถ้าเป็นฉบับที่มีข้อความว่า "ฉบับปัจจุบัน" ให้หยิบตัวเล่มได้ที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ถ้ามีข้อความว่า "Arrived/ได้รับแล้ว" แสดงว่าเป็นวารสารล่วงเวลารอเย็บเล่ม ให้ติดต่อที่เคาน์เตอร์วารสารเพื่อยืมไปถ่ายสำเนาเอกสาร ถ้ามีข้อความว่า "Bound/เย็บเล่ม" ให้หยิบวารสารได้ที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน  


ตัวอย่างของวารสารที่มีข้อความ "Bound/เย็บเล่ม"


3.  การสืบค้นสื่อโสตทัศน์

     เมื่อต้องการค้นหาสารสนเทศประเภท VCD DVD เทป วีดิโอ หรือชุดสื่อการสอนอื่นๆ สามารถสืบค้นได้จาก WebOPAC  ใช้วิธีการและขั้นตอนเหมือนกับการสืบค้นหาหนังสือ แต่สถานที่จัดเก็บสื่อโสตทัศน์จะอยู่ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศน์ชั้น 4 ดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ 
     จากรูปตัวอย่างค้นหาเรื่อง Photoshop ให้คลิกเลือกรายการผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อตรวจสอบสถานภาพ จดเลขเรียก แล้วส่งให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการยืมออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น