ภาพปัจจุบัน

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
 เรื่องที่น่าสนใจสำหรับชาวไซเบอร์ช่วงนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในวาระที่ 1 แต่ไม่นานนักก็จะมีการแก้ไขบ้างในวาระสอง และรับรองในวาระที่สาม

ประเด็นใน พ.ร.บ. นี้มี 2 หมวด คือ หมวดที่หนึ่ง เป็นความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หมวดที่สองเป็นเรื่องของอำนาจหน้าที่ของพนักงานในการบังคับข้อกฎหมายฉบับนี้
กฎหมายนี้ก็เปรียบเสมือนกฎหมายอาญาทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งการกระทำความผิดทางอาญาในโลกไซเบอร์นั้นซับซ้อนไม่แพ้โลกจริงของมนุษย์
สำหรับบทลงโทษสูงสุดก็คือ ความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ อันก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิตประชาชน
ผู้กระทำผิดดังกล่าวต้องระวางโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
ส่วนหมวดที่สองก็คืออำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโลกไซเบอร์ เช่น การเข้าตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ การถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล การเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์
ทั้งหมดข้างต้นใช้สำหรับเป็นหลักฐาน สำหรับยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อตัดสินคดีได้
เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะปัจจุบันคดีความต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและส่วนรวมมีมากขึ้นเยอะ
ที่น่าปวดหัวมากกว่านั้นก็คือโลกไซเบอร์ไร้พรมแดนถ้าหากผู้กระทำผิดอยู่นอกประเทศ แต่ส่งข้อมูลมายังประเทศไทยเราจะบังคับใช้กันอย่างไร ตัวอย่างเช่น มีผู้ให้บริการทางเพศซึ่งอยู่ต่างประเทศ ประกาศโฆษณาผ่านทางอินเตอร์เน็ตบนเว้ปไซด์เป็นภาษาไทย พร้อมวิธีการติดต่อสื่อสารและสมมุติว่ามีเศรษฐีผู้ประสงค์ใช้บริการซึ่งอยู่ประเทศไทยจำนวนมากบินไปใช้บริการ เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยทราบข่าว อำนาจขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายในเขตพรมแดนนอกประเทศจะทำเช่นไร
นอกจากนี้ถ้าหากย้อนมาดูตรงวิธีการสืบค้นหาหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ ก็มีเรื่องใหม่ ๆ ที่ต้องใช้ความรู้มาก เช่น การคลำหาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ซึ่งจะต้องมีความรู้เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Competer Network) เป็นอย่างดีไม่ว่ายี่ห้อใดก็ตามต้องรู้หมด ความรู้เรื่องระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ (Computer Security) ไม่ว่าวิธีการใดต้องรู้หมดทั้งการลงรหัสลับ การถอดรหัสลับ ซึ่งวิชาการเหล่านี้ก็มักจะสอนในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Engineering ซึ่งจะเรียกว่าแข็งหน่อย เพราะต้องใช้สมการคณิตศาสตร์ สำหรับการวิเคราะห์มากหน่อย หรือในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพราะเมื่อมาดูที่เจ้าพนักงานที่มีอำนาจบังคับใช้ก็มีแต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น ซึ่งท่านเหล่านี้จะมีความรู้ด้านอาชญากรวิทยาและการสอบสวน แต่เจ้าหน้าที่ที่จะต้องมีความรู้ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์จะมีมากพอที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นี่น่าสงสัย
โดยเฉพาะจะต้องมีความรู้ที่ดีพอที่จะสามารถหาหลักฐานข้อมูลประกอบคดีในชั้นศาลและก็อีกนั่นแหละผู้พิพากษาหลายท่านก็คงจะต้องมีความรู้เพียงพอด้านคอมพิวเตอร์ดังกล่าว เพื่อชั่งน้ำหนักหลักฐานในการตัดสินคดีความก็ต้องใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ผมกล่าวไว้ข้างต้นมากเช่นเดียวกัน
การฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่จะเพียงพอหรือไม่ หรือจะหาผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ช่วยอย่างไรจึงจะสามารถทำงานได้ดีก็คงจะต้องวางแผนกันให้ดีแหละครับ
ผศ. ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยรังสิต
boonmark@rangsit.rsu.ac.th

Google Calender คืออะไร

Google Calender คืออะไร
Google Calendar คือ บริการปฏิทินแบบออนไลน์ของ Google ซึ่งทำให้คุณสามารถเก็บข้อมูล
เหตุการณ์ต่างๆ รวมไว้ในที่เดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำหนดการนัดหมายและกำหนด
เวลาเหตุการณ์ต่างๆสามารถส่งข้อความเชิญ สามารถใช้ปฏิทินร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และ 
ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งGoogle Calendar มีข้อดีกว่าโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ต่างๆ ดังนี้

1. Google Calendar เป็นบริการออนไลน์และให้บริการฟรี ซึ่งต่างกับโปรแกรมในคอมพิวเตอร์
ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อโปรแกรมมาใช้

2. โปรแกรมในคอมพิวเตอร์มีการแสดงกิจกรรมในรูปแบบได้น้อย ซึ่งต่างจาก Google Calendar 
ที่แสดงตารางกิจกรรมได้หลายรูปแบบมากกว่า

3. Google Calendar มีการแจ้งเตือนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนโปรแกรมที่คล้ายกับ
 Google Calendar ไม่มีการแจ้งเตือนแบบนี้

4. Google Calendar ใช้งานได้ง่ายและสะดวกกว่า จึงทำให้ผู้ที่เริ่มใช้งานเข้าใจได้ง่าย

5. Google Calendar สามารถใช้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ตจึงทำ ให้สะดวกกว่าโปรแกรมที่อยู่ใน
คอมพิวเตอร์ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องไหนไม่มี โปรแกรมนั้นก็จะใช้ไม่ได้


Google Calendar ดีอย่างไร

  การจัดตารางเวลาของคุณไม่ควรเป็นเรื่องชวนปวดหัว Google ปฏิทินจะช่วยให้คุณสามารถ
ติดตามทุกเรื่องสำคัญในชีวิตได้อย่างง่ายดายในจุด เดียว

1. แบ่งปันตารางเวลาของคุณช่วยให้เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และเพื่อนๆ สามารถดูปฏิทินของคุณ 
และดูตารางเวลาที่บุคคลอื่นแบ่งปันกับคุณ เมื่อคุณทราบว่าคนอื่นว่างหรือไม่ว่าง การกำหนด
แผนงานต่างๆ ก็กลายเป็นเรื่องง่าย

2. ใช้ปฏิทินขณะที่คุณเดินทางคุณสามารถทำให้ข้อมูลตรงกับปฏิทินภายในโทรศัพท์มือถือหรือ 
Google ปฏิทิน สำหรับมือถือ ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับหน้าจอขนาดเล็กโดยเฉพาะเพื่อเข้าถึง
ปฏิทินของคุณขณะที่ คุณไม่ได้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์

3. ไม่พลาดกิจกรรมต่างๆ อีกตัวเตือนความจำ ที่ปรับแต่งได้ จะช่วยให้คุณไม่พลาดกิจกรรม
ในตารางเวลา คุณสามารถเลือกรับการแจ้งทางอีเมลหรือรับข้อความทางโทรศัพท์มือถือของคุณ

4. ส่งคำเชิญและติดตามการตอบรับคำเชิญ เชิญบุคคลอื่น เข้าร่วมกิจกรรมในปฏิทินของคุณ 
ผู้เข้าร่วมจะสามารถตอบรับคำเชิญเข้าร่วมกิจกรรมทางอีเมลหรือผ่าน Google ปฏิทิน

5. ทำให้ข้อมูลตรงกับแอปพลิเคชันในเดสก์ท็อปเข้าถึงปฏิทินของคุณได้ในทุกรูปแบบและทุกเวลา
ที่ต้องการ ด้วยการทำให้ข้อมูลกิจกรรมตรงกับ Microsoft Outlook, Apple iCal และ Mozilla Sunbird

6. ทำงานแบบออฟไลน์ ทราบกำหนดการของคุณได้ตลอดเวลา แม้ขณะที่ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ต 
คุณสามารถใช้ การเข้าถึงแบบออฟไลน์ เพื่อดูปฏิทินฉบับอ่านอย่างเดียวได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน

 7. ทั้งหมดนี้ให้บริการฟรีหรือ?

ใช่แล้ว





แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=zCR07cjuI_s

WebOPAC เว็บโอแพค

WebOPAC เว็บโอแพค

 WebOPAC ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการ โดยสืบค้นผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
   เริ่มต้นการสืบค้น  เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักวิทยบริการที่ http://www.library.msu.ac.th  หัวข้อสืบค้นสารสนเทศคลิก WebOPAC หรือพิมพ์คำค้นในช่องว่างซึ่งอยู่ด้านบนของเว็บไซต์ เลือกขอบเขต กดปุ่มสืบค้น ดังรูป

1.  การสืบค้นหนังสือ
     เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์ งานวิจัย นวนิยาย และ เรื่องสั้น ที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการนั้น จะเิริ่มต้นอย่างไรดี  การค้นหาหนังสือให้ได้ดังใจและรวดเร็วมีขั้นตอนนี้ดังนี้
    1) สืบค้นจาก WebOPAC โดยเลือกใช้ขอบเขตหรือทางเลือกในการสืบค้นซึ่งมี  6  ทางเลือกได้แก่
       - ผู้แต่ง  หมายถึง ผู้แต่ง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปลชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการประชุมสัมมนา สำหรับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ชื่อต้น และชื่อกลาง
       - ชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ
       - หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ เอกสาร หรือบทความ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด
        - คำสำคัญ หมายถึง คำ หรือ วลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่ทราบทั้งชื่อเรื่อง ผู้แต่ง และหัวเรื่อง
         - เลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด
              - ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อผู้แต่ง หรือหากทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ จะทำให้สามารถจำกัดผลการสืบค้นได้
      2) พิมพ์คำที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศในช่องว่าง คลิกทางเลือกการสืบค้น ได้แก่ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ หรือ ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง  จากรูปตัวอย่างเป็นวิธีการสืบค้นหนังสือโดยเลือกใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง  คลิกที่ปุ่มสืบค้น
              * ถ้าเริ่มต้นสืบค้นโดยที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง ให้เลือกสืบค้นจากขอบเขต "คำสำคัญ"
          3) หน้าจอแสดงผลการสืบค้น โดยแสดง ชื่อเรื่อง สถานที่จัดเก็บ เลขเรียก และสถานภาพ  ให้ตรวจสอบดูสถานที่จัดเก็บหนังสือที่ต้องการนั้นว่าจัดเก็บอยู่ที่ใด มีสถานภาพอยู่บนชั้น ถูกยืมออกไปแล้ว หรือห้ามยืมออก  ผู้ใช้สามารถดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ จากนั้นให้จดเลขเรียกแล้วหยิบหนังสือบนชั้น แล้วนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ

2.  การสืบค้นบทความ

           จะมีวิธีการสืบค้นเริ่มแรกไม่แตกต่างจากการสืบค้นหนังสือ แต่ผู้สืบค้นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่าบทความเรื่องที่ต้องการนั้นอยู่ในวารสารชื่อเรื่องอะไร และจัดเก็บอยู่ที่ใด ซึ่งวารสารจะมีอยู่ 3 สถานภาพ คือ
          - วารสารฉบับปัจจุบัน  หมายถึง  วารสารฉบับล่าสุด ให้บริการที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ชั้น 3 
          - วารสารล่วงเวลา  หมายถึง  วารสารที่นำลงมาจากชั้นวารสารใหม่สีส้ม และถูกนำมาจัดเก็บไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และเพื่อรอเย็บเล่ม ผู้ใช้บริการสามารถกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการกับบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และนำวารสารไปถ่ายสำเนาได้ที่ศูนย์ถ่ายเอกสาร สำนักวิทยบริการ ชั้น 3
          - วารสารเย็บเล่ม  หมายถึง  วารสารที่ถูกนำมาเย็บเล่มแล้วจัดไว้ให้บริการที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน ผู้ใช้บริการสามารถหยิบตัวเล่มด้วยตนเองและนำไปถ่ายสำเนาเอกสารได้
          ขั้นตอนการสืบค้นมีดังนี้
          1) สืบค้นจาก Web OPAC โดยใช้ชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง หรือคำสำคัญ เพื่อตรวจสอบว่ามีบทความที่ต้องการหรือไม่ จากรูปตัวอย่างเป็นการสืบค้นหาบทความโดยใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อเรื่อง เมื่อได้ผลลัพธ์การสืบค้นให้เลื่อกรายการที่ต้องการแล้วคลิกเข้าไปดูแหล่งข้อมูลหรือชื่อวารสารของบทความเรื่องนั้น  ในกรณีที่มีผลลัพธ์เยอะและต้องการคัดเลือกเอาเฉพาะบทความ ให้คลิกที่ปุ่มเมนู Limit/Sort Search
          * Limit/Sort Search หรือการจำกัดผลลัพธ์ ใช้เพื่อคัดกรองทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ทุกประเภท
          2) จากนั้นให้เลือกประเภทวัสดุ เป็น "ดรรชนีวารสาร" เพื่อกรองผลลัพธ์ให้ได้เฉพาะบทความวารสารเท่านั้น แล้วคลิกปุ่ม Submit เพื่อยืนยัน
          3)  ให้เลือกบทความเรื่องที่สนใจ จากนั้นคลิกที่ "ดูรายละเอียดวารสาร" หน้าจอจะแสดงเลขเรียก สถานที่จัดเก็บ และวารสารฉบับที่มีให้บริการ ให้ผู้ใช้บริการคลิกที่ "Latest Received" เพื่อตรวจสอบว่าวารสารที่ต้องการนั้นถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด
          4) ให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบว่าบทความที่ต้องการอยู่ในวารสารฉบับที่เท่าใด ถ้าเป็นฉบับที่มีข้อความว่า "ฉบับปัจจุบัน" ให้หยิบตัวเล่มได้ที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ถ้ามีข้อความว่า "Arrived/ได้รับแล้ว" แสดงว่าเป็นวารสารล่วงเวลารอเย็บเล่ม ให้ติดต่อที่เคาน์เตอร์วารสารเพื่อยืมไปถ่ายสำเนาเอกสาร ถ้ามีข้อความว่า "Bound/เย็บเล่ม" ให้หยิบวารสารได้ที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน  


ตัวอย่างของวารสารที่มีข้อความ "Bound/เย็บเล่ม"


3.  การสืบค้นสื่อโสตทัศน์

     เมื่อต้องการค้นหาสารสนเทศประเภท VCD DVD เทป วีดิโอ หรือชุดสื่อการสอนอื่นๆ สามารถสืบค้นได้จาก WebOPAC  ใช้วิธีการและขั้นตอนเหมือนกับการสืบค้นหาหนังสือ แต่สถานที่จัดเก็บสื่อโสตทัศน์จะอยู่ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศน์ชั้น 4 ดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ 
     จากรูปตัวอย่างค้นหาเรื่อง Photoshop ให้คลิกเลือกรายการผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อตรวจสอบสถานภาพ จดเลขเรียก แล้วส่งให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการยืมออก

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปลี่ยน Profile ในบล็อกเกอร์เป็น Facebook Profile

เปลี่ยน Profile ในบล็อกเกอร์เป็น Facebook Profile

ปัจจุบันนี้ใครไม่ร้จัก Facebook ละก็เป็นเรื่องเชยซะแล้ว เพราะ social network ที่มาแรงที่สุดในประเทศไทยทุกวันนี้คือ Facebook ถึงแม้จะมีคู่แข่งอย่าง Google Plus เข้ามาแล้วก็ตามที  ความแรงของ Facebook ก็ยังไม่เปลี่ยน  วันนี้เลยมาชวนเพื่อน  ๆ เหล่า blogger เอา Profile จาก Facebook เอามาแทนที่ Profile ใน blogger ให้ดูอินเทรนด์ทันสมัยกับเค้าสักนิด  และเป็นการเปิดทางสำหรับการติดต่อกับเจ้าของบล็อกได้อีกทางหนึ่ง   สำหรับตัวช่วยในการสร้าง  Badge ในการนำมาแปะติดในเวบบล็อกก็คือFacebook  Profile Badgeการสร้าง Profile Badge สำหรับนำมาแปะติดในเวบบล็อก มีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

blogger
ขั้นตอนที่ 1  Login เข้า  Facebook  และคลิ๊กเข้า ปรับแต่ง Profile Badge ได้ที่   Facebook Profile Badge   คลิ๊กปรับแต่งที่เมนู  Profile  Badge  และเลือก Edit the badge ดังรูป  ในการปรับแต่งเราสามารถเลือกการแสดงรูปแบบ หรือ Layout เพื่อให้เหมาะสม
image
โดยทดลองคลิีกเพื่อดูผลการแสดงด้านขวามือ นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูลจากหน้า Profile เราได้เพิ่มเติม เช่น เพิ่มรูปภาพ เพิ่มสถานะการอัพเดท เพิ่มโน๊ตย่อ เพื่อน ๆ ลองปรับแต่งดูตามความชอบใจนะคะ เสร็จแล้วเลือก save ค่ะ
ขั้นตอนที่สอง หลังจากบันทึก ( save ) ในขั้นตอนที่ หนึ่งเรียบร้อยจะกลับมายังหน้าต่างในขั้นตอนที่หนึ่ง  ให้คลิีกเลือก add to blogger  เพื่อนำ Profile Badge มาเพิ่มในเวบบล็อกของเราค่ะ
image
เลือกเวบบล็อกที่ต้องการเพิ่ม  เปลี่ยนชื่อเรื่อง แล้วเลือก เพิ่มเครื่องมือ  ต่อจากนั้นเข้าไไปปรับแต่งลาก วางเครื่องมือในเพื่อให้แสดงผลในตำแหน่งที่ตนชอบใจ ที่ เมนู องค์ประกอบ blog ค่ะ
แต่งบล้อกด้วย facebook
เลือกบันทึกและทดลองดูการแสดงผลในเวบบล็อกได้แล้วค่ะ
เขียนบล็อก

แต่งบล็อกด้วยสไลด์โชว์ |slide show

แต่งบล็อกด้วยสไลด์โชว์ |slide show


เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับบล็อก เรามาลองปรับแต่งด้วยการเพิ่ม slide show กันดีกว่า ดิฉันเองไม่แนะนำไกลตัว  ก็กับ picasa ไงคะ  ทุกครั้งที่เราอัพโหลดรูปในการเขียนบล็อก รูปภาพทั้งหมดจะอยู่ที่ picasa ค่ะ  นอกจากว่าเพื่อน ๆ จะไปใช้บริการฝากรูปที่อื่น  นอกจากจะเอารูปจากในบล็อกเรามาทำสไลด์แล้ว  เรายังสามารถอัพโหลดรูปอื่น ๆ ฝากไว้กับ picasa แล้วก็ทำเป็นสไลด์โชว์อย่าง ง่าย ๆ ได้อีกด้วย  login เข้าไปทำสไลด์โชว์กับ picasa กันเถอะค่ะ  เข้าไปใช้บริการโดยใช้ username และ password กับ google ที่ใช้เขียนบล็อกเนี่ยหล่ะค่ะ  เรียกว่า google account ,เมื่อเรา login เข้าไปจะมาเจอหน้าเวบ
สไลด์โชว์กับ picasa
นี่คือโฟลเดอร์ทั้งหมดที่มี ลองเข้าไปดูแต่ละโฟลเดอร์  จะเอาโฟลเดอร์ไหนทำสไลด์สวย ๆ กันดีอ้อ ! แต่ก่อนอื่นเราต้องตั้งค่าใช้ร่วมกันให้เป็นสาธารณะก่อนนะคะ   ถ้าหากเราจะทำสไลด์โชว์หล่ะ
 picasa album
พอเลือกโฟลเดอร์ไหนจะทำสไลด์ได้แล้ว คลิ๊กเลือก เชื่อมโยงไปยังลิงค์นี้  หลังจากนั้นจะปรากฏ เมนูว่า ฝังภาพสไลด์เลือกตัวนี้เลยจ๊ะ
picasa_slide
รอสักครู่จะปรากฏหน้าต่าง ตัวอย่างภาพสไลด์ที่เราต้องการ   หลังจากนั้นเราก็ตั้งค่าจะให้สไลด์ขนาดไหน เลือกได้  แล้วก็ copy code ข้างล่างในวงกลมสีแดง ไปวางใน gadget html/javascript ค่ะ แค่นี้เราก็จะมีสไลด์สวย ๆ ไว้แต่งบล็อกได้อีกแบบ  ลองเข้าไปดูที่อย่างที่  นิทานก่อนนอนสอนลูก หรือถ้าหากยังไม่ถูกใจ ลองใช้ฟรีแวร์ของ photoscape ที่เคยทำลายน้ำ|watermark มาทำก็ได้นะ โดยเลือกเมนูภาพเคลื่อนไหวค่ะ
photoscape
หลังจากนั้นก็ปรับแต่งเอฟเฟคเล็กน้อยตามใจชอบ  บันทึกเสร็จแล้ว อัพโหลดไปไว้ที่ picasa
การอัพโหลดรูป
หลังจากนั้นลองเพิ่มสไลด์โชว์ใน blog เราอีกแบบนะคะ ไปที่ blogger.com >รูปแบบ> องค์ประกอบหน้า >เพิ่ม gadget >gaget พื้นฐาน
เพิ่มสไลด์ใน blog
เลือกเพิ่มสไลด์โชว์ด้วยการคลิีกเครื่องหมาย บวกค่ะ
ปรับแต่งสไลด์ใน blogger
จากนั้นจะะปรากฏหน้าต่างดังรูป  ให้เพื่อน ๆตั้งค่าเลือกเป็น อัลบั้มนะคะ ใส่ ชื่อผู้ใช้ picasa ของเราไป  เลือกอัลบั้มรูป ตั้งค่าความเร็ว  และตัวเลือกตามชอบใจ ลองดูการแสดงผลสไลด์ หากชอบใจแล้วเลือกบันทึก  แค่นี้ก็มีสไลด์เพิ่มใน blog ได้อีกทางนะคะ ลองดูตัวอย่างการแสดงผลที่ ฟรีพื้นที่ฝากไฟล์ เอกสาร รูปภาพ ออดิโอ วีดีโอ  เพิ่มอีกแนวทางเพื่อให้สะดวกในการอัพโหลดรูปภาพในการเขียนบล็อก หรือเก็บพื้นที่ไว้ฝากรูปภาพ ขอแนะนำให้ดาวน์โหลดโปรแกรม picasa มาติดเครื่องไว้เลยดีกว่า นอกจากแต่งรูปสวย ๆ ได้ยังอัพโหลดได้สะดวกอีกด้วย ไหน ๆ ก็จะดาวน์โหลด picasa ขอแนะนำอีกไปยกมาเป็น pack เลยดีไหม กับ google pack อันไหนไม่อยากได้ก็ไม่ต้องติดตั้งค่ะ เป็นฟรีแวร์จาก google ซึ่งใน pack นี้ก็มี โปรแกรม picasa มาด้วย
google pack
ดียังไงเหรอ มีรูปภาพไหนอยากอัพโหลดก็แค่ open with picasa แล้วเลือก อัพโหลดแค่เนี้ยก็มีรูปนั้นอยู่ใน picasa album ไว้แชร์ได้แล้วหน่ะสิ ทั้งยังเป็นโปรแกรมแต่งรูปที่แต่งได้หลากหลายรูปแบบ  ไว้ทำสไลด์โชว์เด็ด ๆ เพิ่มได้ทั้งภาพ เสียง และข้อความ ไม่ขออธิบายต่อ ให้เพื่อน ๆ    ลองไปดาวน์โหลดมาใช้นะ google pack 

picasa กับการ crop รูปภาพ

picasa กับการ crop รูปภาพ

ความสามารถที่เป็นมาตรฐานสำหรับโปรแกรมตกแต่งรูปภาพในปัจจุบัน  อีกความาสามารถหนึ่งนั่นคือการ Crop รูปภาพ สำหรับโปรแกรม Picasa นั้นมีความสามารถในการ Corp รูปภาพที่หลากหลาย คุณสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม  หรือหากต้องการ Crop รูปภาพด้วยการลาก และกำหนดตำแหน่งด้วยตนเอง ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาดูวิธีการ Crop รูปภาพด้วยโปรแกรม Picasa กันเลยครับ

เริ่มจากเปิดโปรแกรม Picasa ขึ้นมา จากนั้นดับเบิลคลิกรูปภาพที่ต้องการ Crop
picasa-crop-images

แสดงภาพตัวอย่าง และเครื่องมือสำหรับตกแต่งรูปภาพมากมาย


คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Crop


แสดงรายละเอียดของการ Crop ในลักษณะต่าง ๆ ขึ้นมา จากตัวอย่างผมเลือก 4 x 6 small point


สังเกตว่าเมื่อเลือกลักษณะของการ crop เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีตัวอย่างของการ crop แสดงให้เห็น


ต้องการรูปภาพในลักษณะใด ก็เลือกรูปภาพลักษณะนั้น จากตัวอย่างเลือกภาพในลักษณะที่ 2 เมื่อเสร็จเรียบร้อยคลิกปุ่ม Apply


เพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับสำหรับการ Crop หรือการตัดภาพด้วยโปรแกรม Picasa


ส่งท้ายบทความ : ทุกครั้งที่ปรับแต่งแก้ไขรูปภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ใช้ปุ่ม Export ในการส่งออกรูปภาพที่ทำเสร็จเรียบร้อย ด้วยการกระทำแบบนี้จะไม่ทำให้รูปภาพต้นฉบับเกิดความเสียหายแต่อย่างใด


10 เทคนิคการออกแบบเว็บให้ Google รู้จัก

10 เทคนิคการออกแบบเว็บให้ Google รู้จัก
คนไทยมากกว่า 90% ที่ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะใช้ เสริช์เอนจิ้น (Search Engine)ในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากอินเทอร์เน็ต และจากข้อมูลของ Truehits.net
ดังนั้นการทำการตลาดผ่าน Search Engine ถือเป็นวิธีและช่องทางที่ เจ้าของเว็บไซต์ "ทุกคน" ควรทราบและนำไปปฏิบัติกับเว็บไซต์ของคุณ โดยวันนี้ผมจะมาทิปและเทคนิคง่าย ๆ ในการทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าไปอยู่ในอันดับของ Search Engine โดยเราเรียกวิธีการทำแบบนี้ว่า Search Engine Optimization หรือ เรียกสั้นๆ ว่า SEO และทิปและเทคนิคนี้จะเน้นกับเว็ไซต์ Google.com ซะส่วนใหญ่

เทคนิคการทำให้เว็บไซต์ติดใน Searh Engine
1. ใส่ Keyword ใน Title ของหน้าเว็บ
การใส่ Key Word ในหน้าเว็บไซต์ในส่วนของแท็ก
2. การใส่ Key Word ที่ต้องการในส่วนด้านบนของเว็บไซต์และการเน้นด้วยตัวหนา
การเน้น Key Word ที่ต้องการในหน้าเว็บไซต์ด้านบน และมีการเน้น key word ภายในหน้าเว็บไซต์ด้วย ตัวหน้า หรือการใช้แท็ก จะเป็นการเน้นให้ Search Engine รู้ว่า นี้คือคำที่เราต้องการเน้นและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่ง Search Engine จะให้ความสำคัญและน้ำหนักกับ Key Word เหล่านี้
3. หลีกเลี่ยงการออกแบบเว็บไซต์ด้วย Flash หรือรูปภาพเยอะ ไม่มีตัวหนังสือ
เพราะ Google จะอ่านจากโค๊ดของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งหากเว็บไซต์คุณ มีแต่ภาพ และยิ่งเป็น Flash ด้วยแล้วละก็ Google จะไม่รู้จักเว็บไซต์คุณเลยว่าเกี่ยวกับอะไร คุณควรปรับเปลี่ยนเพิ่ม ตัวหนังสือเข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้ Google ได้รู้จักเว็บไซต์อของคุณ
4. หลีกเลี่ยงใช้ออกแบบเว็บไซต์ด้วยเฟรม
เพราะการออกแบบเว็บไซต์ด้วย เฟรม   จะทำให้ Search Engine จะไม่สามารถทราบได้ถึงข้อมูลที่มีอยู่ในเนื้อหาในหน้านั้นๆ เพราะเนื้อหาในหน้านั้น ๆได้ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยการใช้เฟรม ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงซะ (การใช้เฟรม คือ การออกแบบหน้าเว็บที่มีหน้าเว็บหลาย ๆส่วนประกอบเข้าด้วยกันในหน้าเดียว)
5. การเขียนเว็บด้วยภาษาง่าย ๆ ไม่ใช่โค๊ดที่สลับสับซ้อน
การ ออกแบบเว็บไซต์ โดยมี code ที่สั้นและกระชับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์คุณง่ายต่อการค้นหาของ Search Engine อย่าใช้ code ฟุ่มเฟือยจนเกินไป ไม่ใช้ table มากเกินไป ลดการใช้ JavaScript และ CSS เท่าที่จำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้ คำค้นหาสำคัญๆ ควรอยู่ส่วนบนๆของเว็บเพจให้มากที่สุด
6. ควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพ และใส่คำอธิบายให้กับภาพ
คุณ ควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพที่ตรงกับ Keyword ที่คุณต้องการ และควรใส่คำอธิบายภาพ โดยใช้แท็ก คำอธิบาย เพื่อทำให้ Search Engine รู้ว่าภาพที่คุณใส่เข้าไปในเว็บไซต์คุณคือภาพอะไร และเกี่ยวกับอะไร ซึ่งจะมีผลต่อการค้นหาของ Search Engine ด้วย
7. ใส่ คีย์เวริด์ ให้หนาแน่น ภายในหน้าเว็บไซต์
การ ที่ในหน้าเว็บไซต์ของคุณมี Key Word ที่ซ้ำๆ หลายๆ คำในหน้านั้นๆ  (Key Word Density)  นั่นหมายถึงหน้าๆ นั้นของคุณมีข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับคำๆนั้น  ซึ่ง Search Engine ให้ความสำคัญกับส่วนนี้ เช่นกัน ซึ่งควรจะมีการซ้ำๆ กันของ Key Word ในหนึ่งหน้าเว็บ ไม่ควรเกิน 20%  ซึ่งหากใส่มากเกินไปจะกลายเป็นการ Key Word Spamming ซึ่งอาจจะทำให้เว็บไซต์คุณโดนบล็อกไปเลย
8. ขนาดไฟล์ HTML ของหน้าเว็บไซต์ไม่ควรเกิน 32K
ถ้า หน้าเว็บไซต์ของคุณ มีขนาดใหญ่จนเกินไป จะทำให้ Search Engine ไม่สามารถเก็บข้อมูลของหน้าเว็บไซต์คุณได้ ดังนั้นในการออกแบบ ควรไม่ให้มีขนาดไฟล์ HTML ไม่เกิน 32K
9. แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ
การ แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ และมีเว็บไซต์อื่นๆ ลิงค์มาหาคุณเยอะๆ เป็นการแสดงว่า เว็บไซต์คุณเป็นที่รู้จักจาก ซึ่ง Google จะให้คะแนนของเว็บไซต์คุณ โดยเป็นค่า Page Rank (PR)โดยจะมีการให้คะแนนเอาไว้มีค่าตั้งแต่ 1-10 คะแนน โดยเว็ปเพจใดที่ google เห็นว่าเป็นเว็ปเพจที่ “ สำคัญ ” ซึ่งหากเว็บไซต์คุณมีค่า Page Rank สูงก็จะมีผลต่ออันดับในการแสดงใน google  โดยเราสามารถทราบค่า PR ของเว็บไซต์เราได้ โดย download และ install google toolbar (http://toolbar.google.com) หลังจากนั้นคุณจะสามารถดูคะแนน PR ของคุณที่จัดโดย google ได้
10. ทำ Site Map ให้กับเว็บไซต์ของคุณ
Site Map ก็คือแผนที่เว็ปไซด์ของคุณ ว่าเว็ปไซด์คุณมีหน้าเว็ปต่างๆ อยู่ที่ไหนบ้าง หน้าไหน link ไปสู่หน้าไหน เป็นการรองรับให้ทุกๆ หน้าของเว็ปไซด์คุณถูกเข้าถึงได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ Google สามารถทราบได้ว่าในเว็บไซต์ของคุณมีหน้าเว็บอะไรบ้างทั้งหมด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--