ภาพปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

8 วิธีเพิ่มยอดขายด้วยการเป็นมิตรกับลูกค้า

8 วิธีเพิ่มยอดขายด้วยการเป็นมิตรกับลูกค้า 
เขียนโดย สำนักงานบัญชี
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2008 เวลา 22:35 น.

ท่านเคยนึกบ้างหรือไม่ว่าเพราะเหตุใดที่ทำให้คนบางคนยอมเปิดกระเป๋าสตางค์จ่ายเงิน ซื้อสินค้าหรือบริการ และเพราะเหตุใดที่ทำให้คนบางคนเดินออกจากร้านไปแบบไม่มีวันกลับมาอีก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เขามีต่อบริษัทของคุณนั่นเอง คุณเองก็สามารถเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจของคุณได้ด้วยการ“เป็นมิตรกับลูกค้า” ด้วยวิธีการง่าย ๆ 8 ประการต่อไปนี้
  1. พลังแห่งอิสตรี
    สิ่งสำคัญประการแรกที่จะเพิ่มยอดขายก็คือต้องเข้าใจว่าลูกค้ามีพฤติกรรมในการซื้ออย่างไร ทราบหรือไม่ว่าการจะตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่างนั้น ผู้หญิงมีส่วนสำคัญมากในการตัดสินใจถึงร้อยละ 60-80 ทีเดียว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตามห้างสรรพสินค้าที่ใช้กลยุทธ์ลด แลก แจก แถม ที่ผู้หญิงโปรดปรานนั้นยังใช้ได้ผลเสมอ แต่ในขณะที่ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์จะใช้กลยุทธ์ที่ต่างกันเพราะผู้หญิงมีส่วนตัดสินใจเพียงร้อยละ 7 ของผู้ที่มีกำลังซื้อเท่านั้น
  2. ประสบการณ์ที่ได้รับสำคัญกว่าราคาสินค้า
    การให้บริการที่ดีและการเพิ่มยอดขายควรจะมาคู่กัน แต่บางทีก็แยกจากกันเนื่องจากคนที่เป็นเซลล์ไม่ค่อยสนใจ และ/หรือไม่ช่วยเหลือลูกค้า คุณควรคิดว่าหากคุณเป็นลูกค้าคุณอยากได้บริการอะไร อย่างไร จากนั้นให้ปรับกลยุทธ์ในการให้บริการเสียใหม่ แค่พนักงานพูดจาไม่ดีเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้คุณสูญเสียลูกค้ารายสำคัญไปตลอดกาล
  3. ให้ความรู้แก่ลูกค้า
    ผู้บริโภคฉลาด ๆ สมัยนี้มีเยอะ พวกเขาจะเปรียบเทียบคุณภาพกับราคาของสินค้า ดังนั้นการจะทำให้สินค้าหรือบริการของคุณดึงดูดใจพวกเขาได้ คุณควรจะมีแหล่งข้อมูลของสินค้าของคุณที่สามารถอ่านได้สะดวก เช่น แผ่นพับ ใบปลิว วิดีโอ เว็บไซท์ หรือจัดคอสฝึกอบรมต่าง ๆ ให้ลูกค้า เป็นต้น
  4. มีจรรยาบรรณ
    ผู้บริโภคมักจะไม่ซื้อสินค้าหากภาพพจน์ของผู้บริหารหรือบริษัทไม่ดี ดังนั้นคุณควรจะแสดงให้เห็นว่าคุณบริหารธุรกิจแบบมีจรรยาบรรณ เช่น การรับประกันคุณภาพของสินค้า การคืนเงินหากไม่พอใจ หรือการให้เงินบริจาคกับการกุศลต่าง ๆ เป็นต้น
  5. สร้างบรรยากาศในร้าน
    ข้อควรคำนึงง่าย ๆ ที่จะตกแต่งร้านก็คือ “หากลูกค้าใช้เวลาอยู่ในร้านนานมากเท่าใด พวกเค้าก็มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากขึ้นเท่านั้น” การลงทุนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จำพวกสื่อภาพและเสียงจะช่วยให้ลูกค้าใช้เวลาในร้านนานขึ้น คุณอาจจัดให้มีที่นั่งภายในร้านที่ทั้งผู้หญิงผู้ชายสามารถผ่อนคลาย เปิดเพลงเพราะ ๆ ทันสมัยช่วยด้วย หรือจะเพิ่มความสดชื่นในอากาศด้วยกลิ่นหอมอ่อนๆ ก็มีส่วนเสริมเช่นกัน
  6. คุยกับลูกค้า
    ถึงแม้สังคมไทยจะเป็นสังคมที่คนไม่ค่อยพูดและขี้เกรงใจ แต่คุณยังสามารถนำวิธีการพูดคุยทักทายกับลูกค้ามาช่วยเพิ่มการขายได้ ให้ลูกค้าได้ซักถามเรื่องต่าง ๆ เป็นการเพิ่มยอดขายและช่วยให้ลูกค้าประทับใจกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่ไปซื้อจากที่อื่น เห็นง่าย ๆ ในร้านบางร้านที่ให้พนักงานพูดเสียงดังเป็นระยะว่า “สอบถามได้นะค้า/คร้าบ”
  7. การจัดวางสินค้า
    คนส่วนมากจะถนัดด้านขวา เมื่อเดินเข้าร้านก็จะเดินชิดขวาและมองไปทางขวาก่อน ดังนั้นคุณควรจะจัดวางสินค้าที่ขายดีหรือต้องการโปรโมทไว้ทางด้านขวา หากคุณวางไว้ทางซ้าย ก็มีแนวโน้มว่าลูกค้าจะเดินผ่านไปและกลับมาโดยไม่มองอีกเลย
  8. การซื้อของเป็นเรื่องของอารมณ์
    ผู้บริโภคหลายรายหาซื้อของอย่างมีจุดหมาย หากคุณขายสินค้าที่เกี่ยวกับการให้หรือการใช้ส่วนตัวล่ะก็ คุณต้องสร้างบรรยากาศของร้านให้เข้ากับสินค้าที่ขาย เช่น ขายการ์ดอวยพรหรือของขวัญ ก็ควรใช้บรรยากาศและสีที่อบอุ่น จะทำให้ลูกค้าใช้เวลาอยู่ในร้านนานขึ้น
จะเห็นได้ว่าการที่จะ“เป็นมิตรกับลูกค้า”นั้นคือการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มเข้ามาในร้าน ซึ่งอาจจะแจกสินค้าตัวอย่าง หรือเอกสารก็ได้ นอกจากนั้นแล้วคุณควรทำแบบสอบถามเพื่อหาข้อเสนอแนะ ติชมจากลูกค้าทั้งหญิงและชาย รวมทั้งจากเซลล์ของร้านเอง เป็นครั้งคราวด้วย
(อ้างใน http://www.smethailandclub.com)

ก้าวแรกสู่การเป็นผู้นำด้วยแนวคิด e-Business

ก้าวแรกสู่การเป็นผู้นำด้วยแนวคิด e-Business
เขียนโดย สำนักงานบัญชี
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2008 เวลา 18:49 น.

ความเปลี่ยนแปลงในการที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคนั้นต้องดำเนินควบคู่ไปกับการใช้แนวค ิดด้านธุรกิจแบบอี-บิสิเนส ซึ่งจะสามารถช่วยทำให้ความคิดที่ดีกลายเป็นประโยชน์ที่จับต้องได้อย่างรวดเร็ว นอกจากจะต้องดำเนินการในด้านสถานที่ การคมนาคมขนส่งแล้วด้านแอพพลิเคชั่นแบบออนไลน์ที่จะเข้ามาช่วยปรับปรุงกระบวนการด้านธุรกิจก็เป็นสิ่งสำคั ญเช่นกัน
ในอดีตที่ผ่านมานั้น แนวคิดและความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ในบ้านเราต้องใช้เวลานับสิบปีกว่าที่จะได้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง หรือสามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงทำให้เราไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านเราได้ ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีความคล่องตัวในการดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยในต่างประเทศนั้นได้มีการนำเอาเว็บแอพพลิเคชั่นมาช่วยย่นระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ จึงทำให้สามารถเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
แต่กระนั้น ก็ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่เราจะเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางและวิธีดำเนินการในโครงการต่างๆ โดยอิงแบบแผนในการทำธุรกิจแบบ อี-บิสิเนส ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้เกิดความคล่องตัว โปร่งใส และประหยัดงบประมาณ ซึ่งอาจจะเริ่มจากโครงการนำร่องสักหนึ่งหรือสองโครงการ เพื่อเป็นการปรับวัฒนธรรมองค์กรและให้เวลากับบุคลากรในการปรับตัว โดยโครงการเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนการตามแนวทางใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีแบบออนไ ลน์
จากนั้นแล้ว เมื่อได้มีการทดสอบการใช้งานและมีความคุ้นเคยกับกระบวนการใหม่นี้ ก็จะสามารถที่จะก้าวต่อไปสู่โครงการอื่นๆ ต่อไป โดยที่จะเห็นผลลัพธ์ จากระยะเวลาดำเนินการในโครงการใหม่ที่จะสามารถทำให้สำเร็จผลได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับโครงการอื่นๆ ในอดีต ซึ่งที่จริงแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นมาตรฐานที่องค์กรเอกชนต่างๆ ทั่วโลกได้ยึดถือและใช้ในการดำเนินงานมาแล้ว โดยมีผลพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ซึ่งองค์กรภาครัฐก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้เช่นกัน
บทเรียนที่เราต่างก็ทราบกันดีจากอดีตที่ผ่านมาในการที่จะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านเราก็คือ เราต้องก้าวไปข้างหน้าให้เร็วกว่าที่ผ่านมา มิฉะนั้น เราก็คงต้องเป็นผู้ตามไปเรื่อยๆ ดังนั้น เมื่อเรามีความคิดใหม่ๆ แล้ว ต้องนำไปดำเนินการให้เกิดผลและมองต่อไปถึงการเติบโตหรือการปรับแต่งให้ดียิ่งขึ้น
ข้อคิดหนึ่งที่อยากจะฝากไว้ก็คือ ปัญหาที่มักจะพบสำหรับการทำงานในโครงการที่จะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการที่ยาวนานเป็นปีๆ กับการใช้เงินในการลงทุนเป็น จำนวนมาก และในที่สุดเทคโนโลยีที่เลือกไว้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่า โครงการที่มีระยะเวลาการดำเนินการนานนั้น เป็นเรื่องยากที่จะสามารถหาบทสรุปสุดท้ายได้ในโลกที่มีบุคลากรย้ายเข้าย้ายออกและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ย นแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นเราต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นหนทางเดียวที่จะใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดให้เกิดผลลัพธ์ ที่ยิ่งใหญ่ได้
(บทความโดย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ้างใน bus.rmutt.ac.th)

กำหนดลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนทำธุรกิจ

กำหนดลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนทำธุรกิจ
เขียนโดย สำนักงานบัญชี
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2008 เวลา 22:13 น.
ก่อนที่ธุรกิจจะตัดสินใจทำการตลาด (Marketing) ในสินค้าและบริการของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ก่อนที่ธุรกิจจะตัดสินใจทำการตลาด (Marketing) ในสินค้าและบริการของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ธุรกิจทั้งหลายพึงจดจำไว้คือ จะต้องระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าคือใคร ไม่อย่างนั้น งบประมาณสำหรับทำการตลาดจะสูญเปล่าไปโดยสิ้นเชิง
การตลาดไม่ได้เป็นเพียงการโฆษณาตัวสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่เป็นวิธีการดึงดูดความสนใจให้ผู้บริโภคหันมามองตัวธุรกิจ ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อรู้แน่นอนว่าใครคือเป้าหมายที่จะทำการตลาดก่อนที่จะ เข้าถึงคนกลุ่มนั้น ตัวอย่างเช่น การซื้อสป๊อตโฆษณาทางโทรทัศน์ ถ้าธุรกิจต้องการขายโปรแกรมการผจญภัยล่องแก่งโดยใช้แพยาง คำถามคือ กลุ่มเป้าหมายที่จะสนใจกิจกรรมแบบนี้จะมานั่งดูหน้าจอโทรทัศน์หรือไม่
การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะต้องรู้ทุกสิ่งเกี่ยวกับตัวพวกเขาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราอย่างรอบคอบว่าใครกันแน่คือคนที่จะมาซื้อสินค้า และบริการ อายุเท่าไร สถานะทางการสมรสเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ชอบใช้เวลาว่างทำอะไร งานอดิเรกที่ชอบคืออะไร ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ซื้อใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือในช่วงวันหยุดชอบที่จะเดินทางไปไหน เหล่านี้เป็นต้น
ถ้าต้องการทำตลาดในสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจจำเป็นต้องพัฒนาตลาดเป้าหมายให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น จงหา “ลูกค้าในอุดมคติ” ให้พบ มองเห็นภาพของคนเหล่านั้นให้ทะลุปรุโปร่งถึงรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าพวกเขาทำอะไร คิดอย่างไร และต้องการอะไร แต่ถ้าในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นภาพเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน จำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยลูกค้าเป้าหมายเสียก่อน ทั้งนี้เพราะถ้าไม่ชัด ก็จะไม่สามารถทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการตลาดว่าจะทำอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร
ก่อนที่จะทำการวิจัยลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจจะต้องกลั่นกรองคัดเลือกสินค้าและบริการที่คิดว่าจะนำมาทำตลาด ไม่ใช่เริ่มต้นด้วยการทำทุกสิ่งเพื่อทุกคน แต่ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่า รวมทั้ง ต้องรู้ว่าสินค้าและบริการของตนจะสามารถตอบสนองเหตุผลพื้นฐานของคนเราในการซื้อสินค้าและบริการอะไรบ้างใน 3 ประการ ได้แก่ เพื่อตอบสนองความจำเป็นหรือความต้องการพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหา หรือเพื่อทำให้ตัวเองดูดีขึ้น และเตรียมความพร้อมสำหรับทำการตลาดที่จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถของสินค้า และบริการในการตอบสนองเหตุผลเหล่านั้นได้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่มีเพียงเหตุผลเดียว จากนั้น ธุรกิจจะมุ่งไปที่ตลาดเป้าหมายดังกล่าว โดยการใช้หลักการวิธีจำแนกตลาด (Market Segmentation) ประกอบด้วย
  1. การกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ว่าจะอยู่ในระดับชุมชน ภูมิภาค ระดับประเทศ หรือส่งออก
  2. เมื่อรู้แน่นอนแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการทำวิจัยเกี่ยวกับ “ประชากรศาสตร์ (Demographics)” ที่อยู่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้เพื่อการจำแนกตลาด โดยส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับ อายุ (วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน และผู้สูงอายุ) เพศ (หญิง หรือชาย) ระดับการศึกษา (มัธยม ปวช. ปวส. ปริญญาตรี โท เอก) รายได้ (ต่ำ ปานกลาง และสูง) สถานะการสมรส (โสด แต่งงานแล้ว หรือหย่าร้าง) พื้นฐานทางศาสนา และสุดท้ายคือ วงจรชีวิตครอบครัว (เพิ่งแต่งงาน แต่งงานมาแล้ว 10-20 ปี รวมทั้งมีบุตร หรือไม่มีบุตร) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะได้จากหน่วยงานทะเบียนราษฎร์ของภาครัฐเป็นหลัก
  3. นอกจากข้อมูลทางกายภาพเหล่านั้นแล้ว ข้อมูลที่ต้องมีเพิ่มเติมจะเป็นข้อมูลด้านจิตวิทยา (Psychographics) ที่เกี่ยวกับ วิถีการดำเนินชีวิต (อนุรักษ์นิยม ชอบความตื่นเต้น ตามแฟชั่น หรือเป็นคนประหยัด) สถานะทางสังคม (ต่ำ ปานกลาง หรือสูง) ความคิดเห็น (ถูกชี้นำได้ง่าย หรือเป็นคนที่ต้องฟังความเห็นจากหลายฝ่ายก่อนตัดสินใจ) กิจกรรมและความสนใจ (กีฬา ฟิตเนส เดินซื้อของ หรืออ่านหนังสือ) ทัศนคติและความเชื่อ (เป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือเป็นคนที่มีความระแวดระวังในเรื่องของความปลอดภัยและมั่นคง) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะได้จากการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม
  4. ถ้าในกรณีที่ลูกค้าไม่ใช่ผู้บริโภคทั่วไปแต่เป็นธุรกิจ ข้อมูลที่ต้องรู้คือ สินค้าและบริการของธุรกิจจะไปตอบสนองความต้องการของธุรกิจนั้นตรงจุดไหน จำนวนแรงงานในธุรกิจ ยอดขายประจำปี แหล่งที่ตั้ง และความมีเสถียรภาพของธุรกิจ รวมทั้ง การซื้อสินค้าและบริการทำอย่างไร (ตามฤดูกาล ซื้อภายในท้องถิ่นหรือประเทศ ซื้อตามปริมาณ และใครคือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ) มีอยู่ 3 เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งแตกต่างจากกรณี 3 เหตุผลของบุคคลทั่วไป ได้แก่ เพื่อเพิ่มรายได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือเพื่อคงไว้ซึ่งสถานภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งถ้าสามารถตอบสนองหนึ่งในสามของเหตุผลดังกล่าวได้ ก็เท่ากับสามารถค้นพบตลาดเป้าหมายได้เช่นกัน
  5. พอถึงตอนนี้ธุรกิจพอจะรู้แล้วว่า “ใครคือลูกค้าในอุดมคติ หรือไม่ก็รู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นลูกค้า” ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของธุรกิจแต่ละราย บางแห่งพอถึงขั้นตอนนี้อาจจะสามารถเขียนบรรยายคุณลักษณะของลูกค้าได้เลย เช่น “ลูกค้าเป้าหมายคือ ผู้หญิงวัยกลางคน อายุระหว่าง 30-40 ปี ที่แต่งงานและมีบุตรแล้ว โดยเป็นคนที่ค่อนข้างจะสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม และเน้นการดูแลรูปร่างให้ดูดี” จากลักษณะที่กำหนดไว้ตรงนี้ ทำให้ธุรกิจได้รู้ถึงจำนวนกลุ่มเป้าหมายในขอบเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้ได้ว่าจะ มีกี่ราย เพื่อทำวิจัยต่อว่า จากจำนวนนี้ มีกี่รายที่มีการซื้อสินค้าและบริการจากคู่แข่งแล้ว ที่เหลือที่ยังไม่ซื้อจากคู่แข่งขัน หรือยังไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์จากที่ไหนเลยมีอยู่จำนวนเท่าไร
หลายกรณีที่หลังจากการวิจัยตลาดพบว่า จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะหันมาซื้อสินค้าและบริการมีจำนวนน้อย หรือไม่ก็มีปริมาณการซื้อน้อยมากในแต่ละปี สิ่งที่ธุรกิจต้องทำต่อจากนี้คือ กลับไปตั้งต้น ณ จุดที่เริ่มมีการวางแผนใหม่ เพื่อกำหนดตลาดเป้าหมายให้ขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ซึ่งน่าจะไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากมากมายนัก อย่างน้อยจากขั้นตอนของการทำวิจัยตลาดตอนเริ่มต้น ก็ทำให้พอจะมีข้อมูลเพียงพอต่อการเริ่มต้นใหม่ หรือการเปลี่ยนทิศทางที่แตกต่างจากเดิมได้
(บทความโดย Tanapipat อ้างใน happytreebiz.blogspot.com)

อยากมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตนเอง

อยากมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตนเอง
เขียนโดย สำนักงานบัญชี
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2008 เวลา 17:39 น.
มีผู้อ่านสอบถามผมว่า อยากมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตนเอง ในขณะที่มีงานประจำอยู่ ควรมีข้อคิดเห็นทางการเงินอย่างไร ก่อนอื่นคุณต้องสำรวจดูว่าธุรกิจเล็กๆ ที่อยากจะทำคุณชอบหรือถนัดประการใด ผมขอยกตัวอย่างลูกชายของผมซึ่งชอบเลี้ยงปลาสวยงาม หรือปลาตู้ตั้งแต่เด็กๆ เขาจะไปหาซื้อตู้ปลาและเลือกปลาเงินปลาทองมาใส่ในตู้ เมื่อโตขึ้นก็ทำเป็นอาชีพ คนเราถ้าทำในสิ่งที่ชอบและถนัดโอกาสที่จะทำธุรกิจก็มีมากกว่างานที่ตัวเองไม่มีความชำนาญ เรื่องนี้ผมยกตัวอย่างได้คือ ทุกครั้งที่ผมไปเยี่ยมปลาของลูกชาย เขามักจะพาดูปลาในตู้ต่างๆ ประมาณ 2,000 ตู้ เขาจำปลาได้ทุกตู้ผมเองเดินดูไปได้ 5 ตู้ ก็ลืมแล้วว่า ตู้ไหนใส่ปลาเงินปลาทอง ปลาแรด ปลาเข็ม ดังนั้น ต้องทำในสิ่งที่เราชอบเป็นอันดับแรก
ประการที่สอง ก่อนที่จะออกจากงานประจำต้องมีความมั่นใจว่าธุรกิจเล็กๆ จะมีกำไร กล่าวคือ ต้องสำรวจในด้านการตลาดว่า สินค้าคือบริการของเรามีผู้มาซื้อหรือว่าจ้างใช้บริการหรือไม่ การตลาดต้องเป็นตัวนำ หลายคนภูมิใจว่าสินค้าของเขามีคุณภาพดี เพราะฝีมือปราณีต แต่ถ้าไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้วก็ขายยาก จึงต้องสำรวจภาวะตลาด คุณอาจใช้ทางลัดก็คือ ทำธุรกิจ Franchise ซึ่งมีค่าความนิยมหรือ Brandname ดีอยู่แล้ว ธุรกิจ Franchise ถ้าเป็น Brand ที่มีความแพร่หลายก็จะมีฐานลูกค้าของตนเอง เช่น ร้านสะดวกซื้อ 7 - Eleven หรือ Family Mart แต่ Franchise บางประเภทเพิ่งเกิดใหม่ ต้องใช้เวลานานในการสร้างฐานลูกค้าและเครือข่าย จึงควรระมัดระวังให้ดี
ต้องระลึกว่างานประจำสร้างรายได้ให้คุณทุกเดือน ถ้าเป็นงานที่มีเงินเดือนอยู่แล้วก็หมายความว่า ค่าจ้างที่ได้รับไม่มีต้นทุนเลย เพียงแต่ต้องเสียภาษีบ้าง โดยนายจ้างเป็นผู้หัก ณ ที่จ่าย ในทางตรงกันข้าม การทำธุรกิจเล็กๆ จะต้องมีต้นทุนในเรื่องค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่าต้นทุนสินค้า ยิ่งเป็นร้านพวกสะดวกซื้อซึ่งเปิด 24 ชั่วโมง ค่าโสหุ้ยจะค่อนข้างสูงเพราะในบางช่วงมีลูกค้าน้อย เช่น ตอนดึกๆ บางแห่งตั้งอยู่ในศูนย์การค้าก็จะมีคนมามากในระหว่างสุดสัปดาห์ แต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ค่อนข้างเงียบ ในทางตรงกันข้ามถ้าร้านตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานก็จะมีลูกค้าเฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ แต่เสาร์อาทิตย์สำนักงานต่างๆ ปิด ลูกค้าก็จะน้อย
เพื่อลดความเสี่ยง ผมเห็นว่าควรทำธุรกิจเล็กๆ แบบ Part Time ไปก่อน เช่น ใช้เวลาในตอนเย็น หรือสุดสัปดาห์ หรือเข้าหุ้นกับเพื่อนเพื่อกระจายความเสี่ยง ลองดูว่ากิจการจะไปรอดหรือไม่เสียก่อน แล้วจึงคิดว่าจะออกจากงานประจำมาทำอย่างเต็มตัวหรือไม่ เพราะถ้าไม่คิดวางแผนด้วยความระมัดระวังแล้ว หากออกจากงานประจำ รายได้เดือนหายไป แล้วยังต้องมาลงทุนกู้หนี้ยืมสินเพื่อทำธุรกิจ ถ้าสินค้าหรือบริการขายไม่ออก ก็เกิดผลเสียสองทาง คือ รายได้ประจำหดหาย รายได้ใหม่ก็ไม่เข้า ทำให้คุณถูกบีบคั้นทางการเงินมาก
ข้อคิดสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ คุณมีเงินพอลงทุนหรือไม่ หรือต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ต้องจำไว้ว่าถ้าทำงานกินเงินเดือนพนักงานจะไม่มีหนี้สิน แต่การลงทุนทำธุรกิจจะต้องกู้เงินมาเป็นทุน นอกจากจะต้องเสียดอกเบี้ยแล้ว รายได้จะต้องเก็บไว้บางส่วนเพื่อจ่ายคืนหนี้ด้วย จึงต้องระวังว่าอย่ากู้มากเกินไป ถ้าธุรกิจต้องลงทุน 3 แสนบาท ควรใช้เงินออมของตนเอง 2 แสนบาท กู้ไม่เกิน 1 แสน มิฉะนั้นรายได้หรือกำไรจากการค้าขายจะต้องนำมาจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นเสียหมด ทำให้ผลกำไรเหลือน้อย และถ้าไม่สามารถชำระหนี้ให้เร็วเท่ากับทำนาให้กากิน เอาตัวรอดไปวันๆ คนเราแก่ตัวลงทุกวัน กำลังการทำงานจะถดถอย จึงต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
นอกจากนี้ การทำธุรกิจมักจะมีลูกค้ามาขอซื้อเชื่อ ซึ่งถ้าคุณไม่ติดตามเรียกเก็บเงินไป นานๆ เข้าจะกลายลูกหนี้เสีย คือ Non Performing Loan หรือ NPL เมื่อเป็นดังนี้คุณจะขาดเงินทุนหมุนเวียน เป็นอุปสรรคต่อการขยายกิจการ เพราะธุรกิจย่อมอยู่ได้โดยมีเงินสดมาหล่อเลี้ยงเพื่อชำระค่าใช้จ่ายและซื้อสินค้าเข้าร้าน จึงควรขายสินค้าและบริการเป็นเงินสด อย่าขายเชื่อ และหมั่นเก็บเงิน อย่าปล่อยให้ลูกค้าติดค้างนาน
ประการสุดท้าย กิจการจะต้องมีเงินสดสำรองไว้เป็น Safety เพราะธุรกิจมีทั้งขาขึ้นและขาลง ในระหว่างขาขึ้นกระแสเงินสดก็จะหมุนเวียนได้ดี แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าบางครั้งเราเกิดคู่แข่งมากขึ้น หรือสินค้าไม่ทันสมัย หรือทำเลธุรกิจเปลี่ยนไป ทำให้กิจการขายได้น้อยลง จึงต้องมีเงินสดไว้คอยจุนเจือในช่วงเวลาที่ขายสินค้าหรือบริการได้น้อย.
(ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร, นิตยสาร teen&family ปีที่ 11 เลขที่ 123 มิถุนายน 2548 อ้างใน elib-online.com)
หนังสือนิตยสารดีๆ ที่มีประโยชน์ต่อคนไทยหลายๆ คน คุณจึงไม่ควรพลาด!

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

การจดทะเบียนพาณิชย์

การจดทะเบียนพาณิชย์
เขียนโดย สำนักงานบัญชี
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2009 เวลา 14:49 น.

ผู้ประกอบการพาณิชย์

หมายถึง บุคคลธรรมดา (เจ้าของกินการคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล นิติบุคคลต่างประเทศ ที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย
หมายเหตุ :- ห้างร้าน/บริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร.0-2547-4438, 0-2547-5979

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครองสำนักงานเขต หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า)
  • การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  • การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงิน ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือ หลายอย่างก็ตามและสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใด เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
  • การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือรถยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
หมายเหตุ :- กินการนอกเหนือจากที่ระบุติดต่อสอบถามรายละเอียดที่สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร.0-2547-4438, 0-2547-5979

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนพาณิชย์

  1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
  3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
  4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ณ สถานประกอบการดังกล่าว แนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    1. หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน
    2. กรณีเช่าสถานที่
      1. ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
        • สำเนาทะเบียนบ้านของเลขที่ตั้งสถานประกอบการ
        • สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
        • สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า (เจ้าบ้าน)
      2. ผู้ให้ใช้เช่ามีสถานะเป็นบริษัท
        • สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
        • หนังสือรับรองบริษัท พร้อมลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
        • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
      3. กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
        • สำเนาโฉนดที่ดิน/ห้องชุด
  6. กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบเอกสารของผู้เป็นหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือจดจัดตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล, สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้เป็นหุ้นส่วน

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

  1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
  3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
  4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  5. ใบทะเบียนพาณิชย์

เอกสารที่ต้องใช้จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

  1. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
  2. ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
  3. สำเนาเอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
  4. สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
  5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  6. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

เอกสารที่ใช้กรณีการคัดรับรองสำเนาการขอตรวจเอกสารทะเบียนพาณิชย์

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง

ค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ฉบับละ 50 บาท
  • จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ฉบับละ 20 บาท
  • จดทะเบียนยกเลิก ฉบับละ 20 บาท
  • ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  • ตรวจเอกสาร ครั้งละ 20 บาท
  • คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ 30 บาท
หมายเหตุ:
  1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือ วันเลิกประกอบกิจการ
  2. กรณีแจ้งเลิกเพราะเหตุผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม ให้ลงชื่อโดยทายาทคนใดคนหนึ่ง หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ทำการแทนทายาท หรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท

*รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร.0-2224-1916, 0-2225-1945 หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/finance

แหล่งอ้างอิง  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการทำบัญชี



ประโยชน์ของการทำบัญชี

1. เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
การทำบัญชี 
จะทำให้กิจการ ทราบผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของธุรกิจ และ ความมั่นคงของธุรกิจ โดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้น  จะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุน รายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้น  โดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ)  เข้ามาบันทึกด้วย เมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้น จะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุล และ งบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ คือ
งบกำไรขาดทุน จะสะท้อนภาพผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ว่า กิจการมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไร  มีผลกำไรหรือขาดทุน นอกจากนี้ยังช่วยในการประเมินถึงความสามารถในอนาคตได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของรายได้จากสำนักงานบัญชี
งบดุล จะสะท้อนภาพฐานะทางการเงินของกิจการ ได้แก่ ทรัพย์สิน หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ ว่ามีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน สินทรัพย์ที่มีอยู่จะบ่งบอกศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต นอกจากนี้ยังแสดงถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงในขณะนั้น
งบกระแสเงินสด จะสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ 
  1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
  2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
  3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
โดยตัวเลขที่ปรากฏในงบการเงิน จะสามารถนำมาวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อวัดผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ  เช่น การวัดสภาพคล่องของธุรกิจ การวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ การวัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ และ ความสามารถในการชำระหนี้ เป็นต้น
 การวัด
 วัดจาก
 วิธีการคำนวณ
 ความหมายแสดงถึง
 สภาพคล่อง
 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
 (เท่า)
 สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียน
 มากพอที่จะชำระหนี้ได้เพียงใด
 ประสิทธิภาพ
 การใช้สินทรัพย์
 อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้
(เท่า)
 ยอดขายเชื่อสุทธิ
 ลูกหนี้เฉลี่ย
 ควมสามารถในการบริหาร
 ลูกหนี้ ว่าสามารถเปลี่ยนเป็น
 เงินสดได้เพียงใด
 อัตราหมุนเวียนของสินค้า
(เท่า)
 ต้นทุนขายสินค้า สินค้าคงเหลือเฉลี่ย ความสามารถในการบริหาร
 งานขาย ว่าสินค้าขายได้เร็ว
 เพียงใด
 ความสามารถใน
 การทำกำไรของ
 ธุรกิจ
 อัตราผลตอบแทนจาก
 สินทรพัย์ทั้งหมด (%)
 กำไรสุทธิ *100 สินทรัพย์ทั้งหมด ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์
 รวม
 อัตราผลตอบแทนจากส่วน
 ของผู้ถือหุ้น (%)
 กำไรสุทธิ *100
 ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
 ระดับผลตอบแทนต่อส่วนของ
 เจ้าของ(ผู้ถือหุ้น)
 ความสามารถใน
 การชำระหนี้
 ความสามารถในการจ่าย
 ดอกเบี้ย (เท่า)
 กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยจ่าย
 ดอกเบี้ยจ่าย
 ความสามารถในการชำระ
 ดอกเบี้ยเงินกู้

2. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและตัดสินใจธุรกิจ
ข้อมูลบัญชีจากสำนักงานบัญชีจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ โดยประเมินจากข้อมูลเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรายงานวิเคราะห์ต่างๆ ที่สำนักงานบัญชีได้จัดทำ อันเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารงานสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการพยากรณ์เหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตได้อย่างมีทิศทาง และ ความเชื่อมั่นสูง สามารถนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น หากสำนักงานบัญชีมีข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ทำให้สามารถพัฒนากิจการให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
3. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไร และ ควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัท
เนื่องจากในการทำบัญชีของสำนักงานบัญชีอย่างถูกต้อง จะทำให้กิจการทราบจำนวนต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และสามารถคำนวณต้นทุนของสินค้าและบริการของกิจการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจกำหนดราคาสินค้า หรือ บริการของธุรกิจ ช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้เป็นไปตามประมาณการที่ได้กำหนดไว้ และสามารถนำไปวิเคราะห์ ปรับปรุงรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก รวมถึงช่วยในการวางแผนการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ นอกจากนี้การบันทึกบัญชีของสำนักงานบัญชีจะทำให้สามารถตรวจสอบหาหลักฐานในการเบิกจ่ายแต่ละครั้ง จึงช่วยลดปัญหาในการเบิกจ่ายซ้ำซ้อนได้
4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการหาแหล่งเงินทุน
ในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีจะทำให้เราได้รายงานทางเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางธุรกิจต่าง ๆ อันเป็นหลักฐานในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เช่น เมื่อเราต้องการเงินทุนเพิ่มก็สามารถนำรายงานทางการเงินนั้นไปเป็นข้อมูลประกอบในการขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ โดยธนาคาร หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้รายงานทางการเงินของกิจการ เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จากความน่าเชื่อถือ และ ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอกู้ยืม รวมถึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้จะได้รับ อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการที่จะทำให้กิจการจะได้รับวงเงินกู้ที่ต้องการ และ จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม
5. เพื่อให้กิจการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และ เป็นสัญญาณเตือนภัยของกิจการ
การมีระบบบัญชีที่ดีของสำนักงานบัญชี จะทำให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีที่ช่วยให้กิจการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากข้อมูลทางการเงิน ตลอดจนรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้น สำนักงานบัญชีจะต้องมีหลักฐานที่สามารถยืนยันถึงที่มาที่ไปซึ่งจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการทุจริตสามารถทำได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลทางบัญชีก็ยังสามารถนำมาวิเคราะห์หาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น หาจุดบกพร่อง จุดอ่อน และจุดรั่วไหลได้ ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กิจการ ได้วางแผน เตรียมการป้องกัน และ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
6. เพื่อประโยชน์ในการวางแผน เพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและประหยัด
การจัดทำบัญชีที่ถูกต้องของสำนักงานบัญชี จะทำให้ทราบกำไรขาดทุนที่แน่ชัด สามารถวางแผนภาษีอากรได้อย่างเหมาะสม ประหยัด และ เสียภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทำอย่างไร


จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทำอย่างไร
1. เครื่องหมายการค้าคืออะไร
ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
2. เครื่องหมายการค้ามีกี่ประเภท
เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
เครื่องหมายรับรอง หมายความว่าเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรอง แหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ/วิธีการผลิตคุณภาพ หรือคุณลักษณะของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน
3. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
  1. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
  2. เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้งอห้ามตามกฎหมาย
  3. ไม่เป็นเครื่งอหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4. ลักษณะบ่งเฉพาะคืออะไร
  1. ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อนั้นทราบ และเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าอื่น
  2. ต้องไม่เป็นภาพ/คำ ข้อความหรือสิ่งที่ใช้กันทั่วไปทางการค้าขาย เช่น คำว่า น้ำปลา ใช้กับสินค้าน้ำปลา ถือว่า ไม่มีลักษณะบ่องเฉพาะ
5. อายุการคุ้มครอง
  1. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุการคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
  2. ต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยให้ยื่นคำขอต่ออายุภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ
6. การให้บริการตรวจค้นเครื่องหมายการค้า
  1. นำรูปเครื่องหมายที่จะจดทะเบียนไปขอตรวจค้นด้วยตนเองได้ที่กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
  2. กรอกแบบฟอร์ม (ก.09) ขอตรวจสอบเครื่องหมาย พร้อมชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจค้น ชั่วโมงละ 100 บาทและขอให้ระบุว่า เครื่องหมายจะใช้กับสินค้า/บริการ
7. การเตรียมคำขอจดทะเบียน (แบบ ก.01)
  1. คำขอจดทะเบียน (ก.01) พิมพ์ข้อความพร้อมลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทน และปิดรูปเครื่องหมายขนาดกว้าง ยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร ลงบนต้นฉบับและถ่ายสำเนาแบบ (ก.01) อีก 5 ชุด
  2. แนบรูปเครื่งอหมายการค้า/บริการ อีก 2 รูปใส่ซอง (รวมใช้รูป 6 รูป)
  3. แบบคำขอแสดงปฏิเสธ (ก.12) ใช้กรณีเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป
  4. คำร้องจดทะเบียนชุด (ก.13) ใช้กรณีผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอที่มีเครื่งอหมายที่มีลักษณะเดียวกันหลายคำขอ
  5. หนังสือมอบอำนาจ (ก.18) ใช้กรณีมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการพร้อมปิดอากร 30 บาท ผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (ถ้ามี)
เอกสารประกอบการจดทะเบียน
  1. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของเครื่องหมายการค้า (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับจริงที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน(กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตัวแทน (ถ้ามี)
หมายเหตุ: ส่วนเกินขนาดรูปเครื่องหมายการค้า 5x5 ซม. จะต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนเกิน เซนติเมตรละ 100 บาท
8. ต่ออายุ
  1. คำขอต่ออายุ (ก.07) พิมพ์ข้อความระบุรายการสินค้าที่ต้องการต่ออายุและลงลายมือชื่อ
  2. คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง (ก.06) ใช้กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ เช่น สถานที่ส่งบัตรหมายรายการสินค้า เป็นต้น
เอกสารประกอบคำขอต่ออายุ
  1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  2. หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับจริงที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีนิติบุคคล)
  3. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของเครื่องหมายการค้า (กรณ๊บุคคลธรรมดา)
  4. หนังสือมอบอำนาจ (ก.18) เปลี่ยนแปลงตัวแทน (ถ้ามี)
  5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตัวแทน (ถ้ามี)
9. ค่าธรรมเนียม
  • การยื่นคำขอจดทะเบียน รายการสินค้า/บริการ  อย่างละ  500  บาท
  • การรับจดทะเบียน รายการสินค้า/บริการ  อย่างละ  300  บาท
  • การยื่นคำขอต่ออายุ รายการสินค้า/บริการ  อย่างละ  1,000  บาท
10. สถานที่ยื่นคำขอ
  • กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอ สำนักเครื่องหมายการค้า ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร.025474638-9 หรือ 025474621-25 โทรสายด่วน 1368
  • สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทั่วประเทศ
  • อินเตอร์เน็ต www.ipthailand.org

ที่มาhttp://www.suretax-accounting.com/articles/registration/197-2009-04-29-17-08-43.html

เทคนิคการตรวจสอบสถานะธุรกิจ



เทคนิคการตรวจสอบสถานะธุรกิจ


  • ตรวจสอบตัวเลขทางการเงินต่างๆ
  • จัดทำระบบการรายงานตัวเลขต่างๆ ที่สำคัญต่อการตัดสินใจ
  • มีการเปรียบเทียบผลจากตัวเลขในรายงานต่างๆ กับประมาณการที่ตั้งไว้
  • กำหนดลำดับความสำคัญของตัวเลขต่างๆ
  • การแจกจ่ายรายงานทางการเงินต่างๆ ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง

ทุกเช้าของ "คุณสุพจน์" ประธานบริษัทและเจ้าของกิจการขายเครื่องมือแพทย์ บริษัทเพื่อนแพทย์ หลังจากอ่านหนังสือพิมพ์ประจำวันเสร็จสิ้นแล้ว มักมีกิจวัตรประจำวันในการเดินตรวจตราตามแผนกต่างๆ เนื่องจากเขาตระหนักถึงความจำเป็นในการติดตามสถานะของธุรกิจของเขาเป็นประจำทุกวัน
ภารกิจแรกที่เขาต้องทำ คือ ไปที่แผนกขาย เพื่อพูดคุยกับบรรดาเซลส์แมนของบริษัท และสอบถามถึงยอดใบสั่งซื้อว่าเป็นอย่างไรบ้าง ช่วงสายๆ เขาจะเดินไปยังแผนกการเงิน เช็คยอดลูกหนี้คงค้างที่มีอยู่และคำถามที่ติดปากคงหนีไม่พ้น "วันนี้เราเก็บเช็คได้กี่ใบ" จากนั้นจะเดินไปที่แผนกจัดส่งสินค้า เพื่อตรวจสอบการจัดส่งว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ มีสินค้าส่งออกไปปริมาณมากน้อยแค่ใหน การจัดส่งตรงตามเวลาที่สัญญากับลูกค้าหรือไม่
ระบบติดตามของคุณสุพจน์ แม้จะดูว่าเป็นระบบง่ายๆ แต่ก็ทำให้เขาสามารถติดตามสถานะของกิจการได้ตลอดเวลา และเมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็สามารถติดตามแก้ไขได้ทันท่วงที
ในฐานะเถ้าแก่ คงปฏิเสธไม่ได้ถึงความสำคัญในการตรวจสอบสถานะธุรกิจของท่านเป็นประจำเช่นเดียวกับเถ้าแก่สุพจน์ ยิ่งในสถาวะเศรษฐกิจวิกฤติสภาพคล่องติดขัด ลูกค้าหดหาย ยอดขายตกต่ำ ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายหนี้ ยิ่งเราสามารถติดตามสถานะของกิจการและรับรู้ปัญหาได้รวดเร็วเท่าใด เราก็จะสามารถคิดหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้รวดเร็วและทันกาลเท่านั้น

เถ้าแก่สามารถคุมสถานการณ์ของธุรกิจอย่างใกล้ชิดแบบง่าย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนใหญ่ เริ่มจาก

  • การตรวจสอบตัวเลขทางการเงินต่างๆ
ทั้งนี้งบการเงิน ถือเป็นคู่มือตรวจเช็คสถานะธุรกิจที่ดีที่สุด เถ้าแก่ควรจัดให้เจ้าหน้าที่ทางบัญชีสามารถรายงานงบการเงินต่างๆ ไม่ว่างบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด โดยกำหนดให้รายงานภายใน 10 วัน นับจากวันสิ้นเดือน เพื่อจะได้รู้สถานะทางการเงินไม่ว่าในรูปเงินสด ลูกหนี้คงค้าง สินค้าคงเหลือหรือภาระหนี้สินต่างๆ เช่น เจ้าหนี้การค้าเงินกู้หรือดอกเบี้ยที่จะถึงกำหนดชำระ และผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงในรูป ยอดขาย ยอดค่าใช้จ่าย ผลกำไร ฯลฯ
ส่วนใหญ่ธุรกิจขนาดย่อมมักไม่สนใจจัดให้มีระบบการรายงานและจัดทำบัญชีอย่างทันกาล เถ้าแก่จึงมักต้องใช้วิธีนั่งเทียน คาดเดาตัวเลขต่างๆ ด้วยตัวเอง ทำให้เสียทั้งโอกาสในการลงทุน กรณีเงินสดเหลือและอาจเกิดวิกฤติจัดหาเงินทุนหมุนไม่ทันกรณีธุรกิจขาดเงิน

  • ทั้งนี้เพื่อให้การตรวจสอบตัวเลขง่ายเข้าไว้ ควรทำระบบการรายงานตัวเลขต่างๆ ที่สำคัญต่อการตัดสินใจ
ตัวเลขต่างๆ ที่เถ้าแก่ใช้ในการบริหารงานนั้น บางตัวเลขมีความสำคัญมาก บ่งบอกถึงความเป็นตายของธุรกิจ เช่น ยอดขาย ยอดลูกหนี้ค้างชำระ ฯลฯ ดังนั้น จึงจำเป็นที่เถ้าแก่จะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตัวเลขต่างๆ เหล่านี้อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดทำรายงานเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนแล้วแต่ลำดับความสำคัญของตัวเลขเหล่านั้น
ตัวอย่างรายงานต่างๆ ที่ควรจัดให้มีประกอบด้วยรายงานรายเดือนที่แจกแจง ยอดสินค้าคงเหลือ ยอดลูกหนี้ค้างชำระ (แบ่งแยกตามกำหนดค้างชำระ และคำนวณวันถัวเฉลี่ยในการเก็บหนี้ด้วย) ยอดเจ้าหนี้ค้างจ่าย (แบ่งแยกตามกำหนดค้างชำระ และคำนวณถัวเฉลี่ยในการจ่ายหนี้ด้วย) เป็นต้น
หรือการจัดทำรายงานรายสัปดาห์ประกอบด้วย ยอดเงินสดคงเหลือ ยอดเงินสดจ่าย โดยเฉพาะบิลจ่ายจำนวนใหญ่ๆ ยอดเงินสดรับ ยอดขายจากลูกค้ารายใหม่ๆ ยอดสั่งซื้อที่ค้างอยู่ จำนวนพนักงาน โดยคิดคำนวณเป็นยอดขายต่อหัว เพื่อวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
เถ้าแก่คงต้งนำตัวเลขที่ปรากฎในรายงานการเงินมาวิเคราะห์เจาะลึกประกอบการตัดสินใจในการบริหาร เช่น เราทราบว่า จำนวนวันถัวเฉลี่ยในการเก็บหนี้บ่งบอกเวลาที่ลูกหนี้ค้างชำระกิจการ ในขณะที่จำนวนวันถัวเฉลี่ยในการจ่ายหนี้ บอกเวลาที่เราค้างชำระหนี้ กรณีที่จำนวนวันถัวเฉลี่ยในการเก็บหนี้มากกว่าจำนวนวันถัวเฉลี่ยในการจ่ายหนี้ หมายความว่า เถ้าแก่ต้องจัดเตรียมเงินของตนไว้เผื่อเท่ากับปริมาณเงินที่ใช้ต่อวัน คูณด้วยจำนวนวันถัวเฉลี่ยที่เหลื่อมกันนั้น
พร้อมกับการเปรียบเทียบผลจากตัวเลขในรายงานต่างๆ กับประมาณการที่ตั้งไว้

  • ทั้งนี้การเปรียบเทียบตัวเลขในรายงานต่างๆ กับประมาณการที่ตั้งไว้และพยายามค้นหาสาเหตุของความแตกต่างดังกล่าวจะช่วยทำให้เถ้าแก่ทราบสถาวการณ์ของธุรกิจของตนตลอดเวลา เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเถ้าแก่รู้สาเหตุจะได้รับดำเนินการแก้ไขและตอบโต้อย่างทันท่วงที
ตัวอย่าง เถ้าแก่เคยประมาณว่ายอดขายในเดือนนี้ควรเป็น 3 แสนบาท แต่ปรากฎว่าตัวเลขยอดขายจริงมีเพียงครึ่งเดียว 150,000 บาท เถ้าแก่คงจะต้องสอบถามพนักงานขายว่า ทำไมยอดขายจึงลดต่ำลงเป็นผลจากอะไร อาจเกิดจากสินค้าผลิตไม่ทัน หรือลูกค้าลด ยอดซื้อลง ถ้าทราบว่าเกิดจากคู่แข่งลดราคาสินค้าลงหรือมีโปรโมชั่นพิเศษ

  • เมื่อมีการรวบรวมตัวเลขต่างๆ จะต้องมีการกำหนดลำดับความสำคัญของตัวเลขต่างๆ
เพราะตัวเลขบางรายการมีความสำคัญอย่างมากในการตัดสินใจ เช่น ยอดขายและยอดลูกหนี้ค้างชำระ ซึ่งตัวเลข 2 ตัวนี้คือที่มาของแหล่งเงินสดรับส่วนใหญ่ของกิจการขณะที่ยอดค้างจ่ายเจ้าหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยต่างๆ จะถือเป็นรายการใหญ่ของเงินสดจ่ายของกิจการ
เถ้าแก่คงต้องติดตามดูแลรายการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยจัดให้มีการรายงานตัวเลขต่างๆ เหล่านี้เป็นประจำและทันท่วงที อาจไม่สามารถรอตัวเลขจากทางบัญชีที่สรุปเป็นรายเดือน คงต้องขอตัวเลขเหล่านี้จากฝ่ายบัญชีการเงินและฝ่ายขายให้สรุปออกมาเป็นรายสัปดาห์หรือรายวันแล้วแต่สถานการณ์ของกิจการ เพื่อเป็นข้อมูลในมือของเถ้าแก่ในการจัดการธุรกิจ และปรับกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว

  • เทคนิคขั้นสุดท้าย คือ การแจกจ่ายรายงานทางการเงินต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดการรัีบรู้และรับผิดชอบต่อผลของตัวเลขเหล่านั้น พร้อมคันหาสาเหตุของความแตกต่างระหว่างตัวเลขจริงกับที่ประมาณไว้และหาแนวทางแก้ไข เพราะคงไม่มีผู้รู้ที่มาของตัวเลขต่างๆ ดีเท่าผู้ก่อให้เกิดตัวเลขนั้นๆ
การสร้างระบบให้ผู้สร้างตัวเลขต้องรับผิดชอบต่อตัวเลขจะเป็นวิธีการสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เถ้าแก่ต้องติดตามและทำความเข้าใจที่ไปที่มาของตัวเลขต่างๆ ได้ด้วยตนเองแม้ว่าจะจ้างนักบัญชีมาคอยจัดทำและดูแลตัวเลขเหล่านั้นแล้วก็ตาม
มิฉะนั้นเถ้าแก่คงไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์บริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปกป้องธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติแต่ละช่วงไปได้ด้วยดี
การวิเคราะห์ศึกษาและติดตามตรวจสอบสภาพของธุรกิจอยู่ตลอดเวลา นอดจากนำตัวเลขแต่ละช่วงเวลามาเปรียบเทียบกันและการหาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขแล้ว เถ้าแก่ควรนำตัวเลขเหล่านั้นเปรียบเทียบคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้ทราบตำแหน่งและประสิทธิภาพของตนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่นในอุตสาหกรรม
การเปรียบเทียบอาจทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าในรูปแบบเปอร์เซ็นต์แบบง่ายๆ เช่น การเปรียบเทียบรายได้ และค่าใช้จ่ายของธุรกิจของตนต่อยอดขายทั้งหมดของอุตสาหกรรมโดยรวม หรือในรูปอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไป

เพียง 5 ขึ้นตอนเท่านี้ เถ้าแก่ก็คงพอมีข้อมูลเป็นคู่มือเพื่อรับทราบสถานะูธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง


http://www.suretax-accounting.com/articles/business/282-2011-04-18-18-24-53.html