ภาพปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การจัดการความรู้


การจัดการความรู้ มี key word คือ “จัดการ” กับ“ความรู้” ซึ่งมีหลายมุมมอง.... สำหรับอาจารย์ประพนธ์ มองการจัดการความรู้ใน 3 มิติ เทียบได้กับรูปสามเหลี่ยม โดยยอดบนสุดของสามเหลี่ยมจะเป็นเรื่อง ความรู้ในกระดาษ อยู่ในหนังสือในตำรา ต้องมีการจัดหมวดหมู่หนังสือ/ตำราเหล่านั้นแบบห้องสมุด หรือจัดเก็บทางคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบ ต่อไปเป็น ความรู้ที่อยู่ในตัวคน ในตัวผู้ปฏิบัติงาน (มุมขวาของสามเหลี่ยม) จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้ได้ความรู้จากการพูดคุย เป็นการแชร์ทั้งความรู้และประสบการณ์ และอาจจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจด้วย และสุดท้ายมุมซ้ายมือของสามเหลี่ยนเป็น ความรู้ในเครือข่ายคนมารวมกันแล้วพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยเฉพาะคนที่รับผิดชอบงานด้านเดียวกันแต่มีเทคนิคต่างกัน เพื่อให้เกิด community of practice ขึ้นมา หากมีการทำ KM ทั้ง 3 มิติ ก็จะทำให้เราได้การจัดการความรู้ที่สมบูรณ์ และหัวใจสำคัญของการทำ KM อยู่ที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย วิธีการในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ (Community of Practices : CoPs) หรือชุมชนนักปฏิบัติ จะเริ่มจาก กลุ่มจะต้องมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน หรือมีปัญหาร่วมกัน หรือแสวงหาบางอย่างร่วมกัน จากนั้นแต่ละคนในกลุ่มจะมาเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ หรือประเด็นความสำเร็จ หรือเทคนิคการแก้ปัญหา หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ตรงนี้จะทำให้เห็นวงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ KM และประการสุดท้ายเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่ม หากมีความสนิทสนมคุ้นเคย ไว้เนื้อเชื่อใจ รู้สึกปลอดภัย ก็จะเกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนกันได้ลึกมากขึ้น การจัดการความรู้ จึงเป็นการจัดการให้เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นมา วิธีดีที่สุด คือ จัดให้คนได้คุยกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละไม่มากนัก หรือที่เรียกว่า “ตลาดนัดความรู้” ในแต่ละกลุ่มกำหนดประเด็นให้ชัด และต้องเป็นประเด็นที่เชื่อมไปสู่ความรู้หลักขององค์กร ที่สำคัญ ไม่ใช่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ต้องแลกเปลี่ยน case จริงที่เกิดขึ้น จะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ได้ เอาบทเรียนที่ได้รับมาแชร์กัน ประโยชน์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ทำให้ผู้ฟัง เข้าใจในเรื่องนั้นๆ ได้ลึกซึ้งขึ้น เพราะเป็นการฟังจากกรณีศึกษา (case study) เมื่อเจอปัญหาจะสามารถประยุกต์ใช้ได้เลย ความรู้นี้จึงเป็นความรู้ที่เราเรียกว่า tacit knowledge นั่นเอง... สำหรับสกู๊ปในรายการนั้น เป็นผลจากการเล่าประสบการณ์การทำงานในเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประชุม “เวทีปัญญา สัมมนาวาที” ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ซึ่งผลจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ในวันนั้น ทำให้เราไปติดตามการทำงานของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ทำสกู๊ปประกอบรายการ ในชื่อว่า “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ วิถีแห่งการคืนคนดีสู่สังคม” กรมพินิจฯ ได้เล่าถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการหันเหคดี เพื่อคืนเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด กลับสู่สังคม ภายใต้แนวคิดที่ว่า ...เราต้องคืนเด็กดี คนดี สู่สังคม... เพราะไม่ว่าอย่างไรแม้เด็กจะกระทำผิด แต่เด็กก็คือ เด็ก หากถูกตัดสินความผิดไปแล้ว ท้ายที่สุด เขาเหล่านั้นก็ต้องกลับคืนสู่สังคม สู่ชุมชนที่อยู่อาศัยนั่นเอง จึงเป็นวิธีคิดที่ว่า ทำไมสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงทำทั้งหน้าที่ไกล่เกลี่ยเพื่อหันเหคดี ให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง และนำเด็กที่กระทำผิดมาเรียนรู้หลักคุณธรรม ศีลธรรม และฝึกฝีมือการทำงาน เพื่อสร้างโอกาสให้กับตัวเองในยามที่ออกจากสถานพินิจฯ ซึ่งการทำเช่นนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ที่มีส่วนร่วมกันแก้ปัญหานี้ การหันเหคดี จะมีกระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยบุคคลเหล่านี้ได้แก่พนักงานคุมประพฤติ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ผู้นำชุมชน หรือ ผู้นำสังคม หรือครู เด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด ผู้เสียหาย บิดามารดาหรือผู้ปกครองของผู้กระทำผิด บิดามารดาหรือผู้ปกครองของผู้เสียหาย
ที่อยู่ http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=772

ที่่อยู่ http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=772
ที่อยู่ http://www.youtube.com/watch?v=RDUUbNQsb_w

ที่อยู่ http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=772